การทำให้ไม้แห้งมีกี่วิธี แล้วแบบไหนดีสุด?
การอบแห้งไม้มีผลดีต่อไม้แปรรูปมากมาย เช่น ช่วยลดการบิดงอ การแตก ทำให้ไม้มีความคงรูปมากขึ้นและมีโอกาสน้อยที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่ออาคาร
รู้หรือไม่? ความชื้นที่เหมาะสมสำหรับผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูปในไทยจะอยู่ที่ประมาณ 12-15%
มีหลายวิธีในการทำให้ไม้แห้งทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้งานและคุณภาพของไม้ที่ต้องการ ซึ่งในบทความนี้ เราจะนำเสนอสองเทคนิคที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย? จะมีอะไรบ้าง? อ่านต่อกันได้เลย
![ไม้สน,ไม้สนอบแห้ง,ไม้สนนอก](https://static.wixstatic.com/media/e01c8b_7f0a5dc1a13d496fad422f79431edb58~mv2.jpg/v1/fill/w_980,h_979,al_c,q_85,usm_0.66_1.00_0.01,enc_auto/e01c8b_7f0a5dc1a13d496fad422f79431edb58~mv2.jpg)
![ไม้สน,ไม้สนอบแห้ง,ไม้สนนอก](https://static.wixstatic.com/media/e01c8b_45c66f0377e142668fc446c2a0f574f2~mv2.jpg/v1/fill/w_980,h_979,al_c,q_85,usm_0.66_1.00_0.01,enc_auto/e01c8b_45c66f0377e142668fc446c2a0f574f2~mv2.jpg)
1. ผึ่งแห้งด้วยกระแสอากาศ
การทำให้แห้งด้วยอากาศเป็นวิธีที่ดีในการทำให้ไม้แห้งตามธรรมชาติโดยไม่ต้องมีการควบคุมใดๆ อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับวิธีการทำให้แห้งแบบอื่นๆที่จะกล่าวถึงต่อไป การทำให้แห้งด้วยอากาศเป็นกระบวนการที่ใช้เวลานาน อาจใช้เวลาหลายเดือนจึงจะเสร็จสมบูรณ์ ยิ่งไปกว่านั้น ระยะเวลาในการอบแห้งอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพอากาศที่เก็บไม้ไว้
ถ้าเราเอาไม้เนื้ออ่อนท่อนเล็กๆที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 6 นิ้ว มาทำให้แห้งในหน้าแล้ง จะใช้เวลาประมาณ 4-6 เดือนในการทำให้ความชื้นในเนื้อไม้ลดลงเหลือประมาณ ~25- 30% และหากต้องการไม้ที่มีความชื้นต่ำกว่า 25% จะใช้เวลานานกว่ามากในการทำให้แห้งด้วยด้วยอากาศ ซึ่งตรงข้ามกับวิธีการอบแห้งแบบทั่วไป
เพื่อเร่งขั้นตอนนี้ เแนะนำให้ทำแห้งด้วยอากาศโดยเร็วที่สุด และหลีกเลี่ยงกองไม้ที่มีความกว้างมากกว่า 2 เมตร เนื่องจากไม้ที่อยู่ตรงกลางจะแห้งช้ากว่าชั้นนอก นอกจากนี้ การตากไม้จะต้องทำในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก และควรคลุมไม้ด้วยผ้าคลุมเพื่อป้องกันเชื้อรา การแห้งที่ไม่สม่ำเสมอ และแมลงต่างๆ
แม้ว่าการทำให้แห้งด้วยอากาศจะมีข้อเสียอยู่บ้าง แต่ข้อดีของวิธีการทำให้แห้งวิธีนี้ คือ มีราคาถูกและง่ายกว่าในการทำแห้งแบบอื่นๆ เช่น เหมาะกับการทำแห้งไม้ซุงจำนวนมากๆ ดังนั้นโดยทั่วไปแล้วการทำให้แห้งด้วยอากาศจึงใช้เพื่อลดความชื้นของไม้ลงเล็กน้อยก่อนที่จะอบแห้งในเตาเผา ซึ่งเป็นวิธีการทำให้แห้งที่เราจะกล่าวถึงต่อไป
นอกจากต้นทุนที่ต่ำแล้ว การทำให้แห้งด้วยอากาศเป็นวิธีเดียวที่สามารถใช้ได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงชนิดและสายพันธุ์ของไม้ ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องผึ่งลมให้แผ่นไม้เนื้อแข็งแห้ง ใช้เวลามากประมาณ 1-2 ปีในการลดความชื้น แต่ท้ายที่สุดก็จะให้ผลลัพธ์ที่มีคุณภาพ ในทางกลับกัน หากพยายามเร่งกระบวนการ โดยทำให้แผ่นไม้เนื้อแข็งแห้งด้วยเตาเผา แผ่นไม้อาจแตกและใช้งานไม่ได้เลย
![ไม้สน,ไม้สนอบแห้ง,ไม้สนนอก](https://static.wixstatic.com/media/e01c8b_f294563454dc4107860b2981435f4871~mv2.jpg/v1/fill/w_980,h_979,al_c,q_85,usm_0.66_1.00_0.01,enc_auto/e01c8b_f294563454dc4107860b2981435f4871~mv2.jpg)
2. การอบแห้งด้วยเตาเผา
การอบแห้งด้วยเตาเผาเป็นวิธีหนึ่งที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการทำให้ไม้แห้ง เมื่อใช้เตาเผาซึ่งเป็นห้องขนาดใหญ่ที่ควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ได้ คุณจะสามารถทำให้ไม้แห้งได้อย่างต่อเนื่องตามปริมาณความชื้นที่ต้องการในระยะวลาที่สั้นกว่าการทำให้แห้งด้วยกระแสอากาศ
ในการทำให้ไม้กองหนึ่งแห้งสนิท การอบแห้งด้วยเตาเผาอาจใช้เวลามากกว่าสองสามสัปดาห์ แต่เทียบได้กับเวลาเป็นเดือนหรือเป็นปีที่ต้องใช้กระเสอากาศในการทำให้แห้งสำหรับกองไม้ชุดเดียวกัน ตัวอย่างเช่น ไม้สนของเราที่ SAK WoodWorks ใช้เวลาเพียงประมาณ 7 วันในการทำให้แห้งด้วยวิธีนี้
เนื่องจากการอบแห้งด้วยเตาเผาเป็นกระบวนการที่เร็วกว่ามาก จึงต้องใช้มาตรการป้องกันเพื่อป้องกันไม่ให้พื้นผิวของไม้แห้งเร็วเกินไป ซึ่งเป็นสาเหตุของตำหนิต่างๆ เช่น การแข็งนอก รอยแตกแบบรังผึ้ง และการบิดผิดรูปในลักษณะที่ไม่ต้องการ
ดังนั้น การควบคุมความชื้นที่เหมาะสมในห้องอบแห้งจึงมีความสำคัญ เนื่องจากช่วยลดความเสี่ยงเหล่านี้ในระหว่างการทำแห้ง สิ่งสำคัญคือต้องทราบว่าระดับความชื้นจะแตกต่างกันไปสำหรับไม้แต่ละประเภท และสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามขนาดของแผ่นไม้เช่นกัน นอกจากการตรวจสอบระดับความชื้นภายในเตาเผาแล้ว ยังต้องควบคุมการระบายอากาศและอุณหภูมิในขั้นตอนต่างๆ ของการอบแห้ง พร้อมทั้งตรวจสอบระดับความชื้นภายในแผ่นไม้อย่างสม่ำเสมอ
โดยทั่วไปแล้วไม้ที่ผ่านการอบด้วยเตาเผาจะมีข้อบกพร่องและความเสี่ยงต่อความเสียหายน้อยกว่า เช่น ความเสี่ยงจากเชื้อราหรือแมลงศัตรูพืช นอกจากนี้ การอบแห้งไม้ด้วยเตาเผายังแตกต่างจากการทำให้แห้งด้วยอากาศ โดยเฉพาะช่วยให้คุณควบคุมคุณภาพของไม้ได้ รวมทั้งสร้างระดับความชื้นที่เหมาะสมกับแผ่นไม้ได้หลังจากการอบแห้งแล้ว
แม้ว่าการอบแห้งด้วยเตาเผาจะทำให้ได้ไม้ที่แห้งเร็วและมีคุณภาพดีกว่า แต่ต้องใช้ทรัพย์สินและเทคโนโลยีพอสมควรเพื่อจัดตั้งระบบนี้ และต้องใช้เงินทุนสูงกว่าการอบแห้งด้วยอากาศ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่คงที่และยอดเยี่ยม จะต้องมีทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ซึ่งสามารถประเมินไม้ดิบแปรรูปแต่ละกอง และเลือกรูปแบบการอบแห้งที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการอบแห้งด้วยเตาเผา การอบแห้งด้วยอากาศ หรือทั้งสองอย่างรวมกัน
การคัดแยกแผ่นไม้ตามความหนาและขนาดเพื่อให้แห้งพร้อมกันเป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้น ไม้เป็นวัสดุที่มีชีวิต กองท่อนซุงในฤดูหนาวและฤดูร้อนจะมีคุณสมบัติแตกต่างกัน แม้แต่ท่อนซุงชนิดเดียวกันที่เก็บเกี่ยวในป่าที่แตกต่างกันอาจแตกต่างกันได้อย่างมาก รวมไปถึงวิธีการเลื่อยไม้กระดานจากท่อนซุงก็สามารถกำหนดทิศทางและความโค้งงอในกระบวนการอบแห้งได้ การโค้งงอบางครั้งยอมรับได้ หากควบคุมได้และไม่งอเกินไป เพราะหลังจากการอบแห้ง ไม้กระดานจะผ่านเครื่องไสสี่ด้านซึ่งจะกินหน้าไม้ไปอีก 2-3 มม. จากทุกด้าน อย่างไรก็ตาม ก็ยังคงต้องระมัดระวังการเสียรูปจากการไสไม้ ซึ่งสามารถสร้างปัญหาได้ในกระบวนการถัดๆไป
และอย่างที่คุณเห็น ไม้ไม่ใช่วัสดุธรรมดาที่จะแปรรูปได้ง่ายๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำแห้ง
![ไม้สน,ไม้สนอบแห้ง,ไม้สนนอก](https://static.wixstatic.com/media/e01c8b_74145435af1641f9bc7d942374e59d93~mv2.jpg/v1/fill/w_980,h_979,al_c,q_85,usm_0.66_1.00_0.01,enc_auto/e01c8b_74145435af1641f9bc7d942374e59d93~mv2.jpg)
แล้วไม้สน SAK WoodWorks ของเราล่ะ?
ไม้สน SAK WoodWorks แตกต่างจากไม้สนทั่วไปที่มีจำหน่ายในท้องตลาดในประเทศไทย เหตุผลข้อหนึ่งคือกระบวนการแปรรูปไม้ของเรามีความละเอียดมากกว่า เราเริ่มด้วยการอบไม้ในเตาเผา ปรับแต่งรูปทรง และสุดท้ายปรับพื้นผิวให้เรียบด้วยการไสก่อนส่งสินค้ามายังประเทศไทย
ในทางกลับกัน ไม้สนทั่วไปในประเทศไทย (ไม่ได้มาจากซัพพลายเออร์ทุกราย) มักจะถูกขนส่งมาแบบไม่แห้ง และเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาของเชื้อราและแมลง ไม้ที่ยังไม่แห้งจะได้รับการเคลือบด้วยสารเคมีเพื่อรักษาคุณภาพ บริษัทต่างๆเลือกที่จะทำแบบนี้เพราะมีราคาถูกกว่ามากเมื่อเทียบกับกระบวนการอบแห้งและบรรจุแบบดั้งเดิมที่ SAK WoodWorks ใช้
เมื่อขนส่งไม้มายังประเทศไทยได้แล้ว ท้ายที่สุด ไม้จะถูกทำให้แห้งด้วยวิธีธรรมชาติ เช่น การทำให้แห้งด้วยอากาศเป็นเวลา 2-3 เดือน แม้ว่าขั้นตอนการขนส่งนี้จะใช้เงินทุนน้อยกว่า แต่คุณภาพของไม้จะคาดเดาไม่ได้และไม่แน่นอนเนื่องจากความชื้นและคุณภาพไม่สอดคล้องกัน เป็นเพราะวิธีการอบแห้งแบบกระแสอากาศและสารเคมีที่ปนเปื้อนไม้
วิธีการทั่วไปอีกวิธีหนึ่งคือ ใช้ไม้ทันทีหลังจากขนส่งโดยไม่มีขั้นตอนการทำให้แห้งที่เหมาะสม เนื่องจากไม้ที่ยังไม่แห้งนั้นไม่คงรูป บริษัทต่างๆ จึงขายไม้นี้เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น พาเลท ซึ่งสามารถแห้งได้เองตามธรรมชาติขณะใช้งาน โดยทั่วไปโรงงานจะตัดไม้ขนาดใหญ่ให้เป็นชิ้นสั้นๆ สำหรับขาพาเลท และต่อเข้ากับไม้กระดานที่สั้นและบางโดยใช้ตะปู
เราอยากแนะนำให้ผู้อ่านพิจารณาอย่างรอบคอบว่าไม้ที่ยังไม่แห้งและไม้มือสองมีความปลอดภัยต่อการใช้งานแค่ไหน เนื่องจากไม้พาเลทและไม้ทำบรรจุภัณฑ์เป็นแหล่งไม้มือสองที่สำคัญ
Comments